วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 9 รูปแยยการสนทนาออนไลน์

การสนทนาออนไลน์ (online chatting) 


     การสนทนาออนไลน์ หรือ Internet Relay Chat (IRC) หมายถึง โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อการสนทนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดขึ้นสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีชื่อของผู้เล่นและข้อความแสดงขึ้นในหน้าต่างภายในจอคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมสนทนา ให้คนอื่น ๆ ที่ร่วมสนทนาในห้องสนทนา (chat room) นั้น ๆ ได้เห็นว่า ผู้เล่นสนทนาคนอื่น ๆ สามารถเข้าสนทนาได้ (อิสริยา ตัณฑะพานิชกุล และธิติมา ทองทับ, 2550)

บทที่ 8 การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

ประเภทของการค้นหาข้อมูล - Search Engine

กาค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 ประเภท คือ
      Seach Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง
             Seach Engine เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมช่วยในการค้นหาที่เรียกว่า Robot ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ตมาเก็บไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งการค้นหาข้อมูลรูปแบบนี้จะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการเฉพาะได้ระบุคำที่เจาะจงลงไป เพื่อให้โรบอตเป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมมาก เช่น www.google.com

บทที่ 2 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การปรับแต่งคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต

สำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อใช้งานภายในบ้าน  จำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างผู้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ
  1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  2. โมเด็ม
  3. โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต
  4. วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  5. การเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  1. เมนบอร์ด  มีประสิทธิภาพสูงพอสมควรในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในทั่วไป  จะมีซีพียูรุ่น   Celeron, Pentium iv  และ amd  ซีพียุเหล่านี้จะรองรับการใช้งานระบบมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอ  การ์ดเสียง  และลำโพง
  2. หน่วยความจำแรม  จะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ แต่อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า  64-128   mb   ในปัจจุบันนิยมใช้   windows xp  หน่วยความจำแรมไม่ต่ำกว่า 256  mb 
  3. จอภาพและการ์ดแสดงผล    สามารถแสดงผลได้ตั้งแต่ 256  สีขั้นไป 
  4. ระบบมัลติมิเดีย คือ การ์ดเสียงพร้อมลำโพง  เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่นจะมีให้เฉพาะ การ์ดเสียง  และลำโพงเท่านั้น   อุปกรณ์เสริมอื่นๆ คือ  ไมโครโฟน และกล้องเว็บแคม ผู้ใช้จะต้องหาเพิ่มเติมเองเมื่อต้องการใช้งาน

 โมด็ม
        โมเด็ม  หรือ  ( modulator/demodulator)  มีหน้าที่แปลงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ของระบบคอมพิวเตอร์ให้เป้นสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก เพื่อให้สามารถส่งไปทางโทรศัพท์ได้  การ  modulate โดยที่ปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก   ซึ่งรับมาจากโทรศัพท์ให้กลับมาเป็นข้อมูลแบบดิจิทัล เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์  เรียกว่า   demodulate  เนื่องจากสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่จะสามารถส่งข้อมูลได้ ไม่เกิน 56 kbps   โมเด็มแบ่งออกเป็น  3  ประเภท 
  1. โมเด็มแบบภายใน
  2. โมเด็มแบบภายนอก
  3. โมเด็มแบบ  pcmcia

 
โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต

      1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ   จำเป็นมากสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด  เพราะจะเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบในระบบ หน่วยความจำ  การบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ 
         2.โปรแกรมเว็บบราว์เซอร์  คือ  โปรมแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต   โปรมแกรมนี้จะสามารถมากมายที่จะเป็นประโยชน์ในการท่องเว็บ
      3.โปรแกรมรับส่งจดหมายอิแล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ข้อมูลจดหมายโดยสร้างโฟลเดอร์สำหรับเก็บจดหมายไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
        4.โปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต    ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยกัน ในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ เรียกว่า chat 
         5.โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเตอร์เน๊ต ใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีหลากหลายรู้แบบ  ทั้งรูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว เสียง  วีดีทัศน์  


วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
      จะใช้โมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์     เรียกว่า “dial –up’’  ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของดิจิทัล ให้เป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก เพื่อส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ ความเร็วของการส่งข้อมูลอยู่ที่  33.6   kbps   และสำหรับการรับข้อมูลอยู่ที่  56  kbps
        การรับส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์ 
       1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  isdn ( intergrated   services digital network )
       2.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  adsl ( asymmetric digital subscriberv link )
       3.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเคเบิลโมเด็ม ( cable  modem  )
       4.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวทียม ( satellite )
         5.การเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตแบบวงจรเช่า ( leased line )


1.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  isdn 
        ถ้าต้องการใช้ระบบ  isdn    จะต้องขอหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ที่เป็น isdn  การให้บริการ isdn แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
           Bai   สำหรับผู้ใช้รายย่อย   ตามบ้านพัก หรือหน่วยงานขนาดเล็ก มีความเร็วเต็มที่ 128  mbps
        Pri    สำหรับองค์กรขนาดใหญ่โดยการเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสง จะมีช่องสัญญาณสำหรับการสื่อสาร 30  ช่องสัญญาณ แต่ละช่องมีความเร็วที่ 64  kbps

2.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  adsl  การบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงโดยผ่านทาง สามารถ  ใช้กับการเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์แบบเดิม สามารถเปลี่ยนสายโทรศัพท์ธรรมดาให้เป็นสายดิจิทัล มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง

3.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเคเบิลโมเด็ม  มีความเร็วสูงที่ไม่ต้องใช้สายโทรศัพท์ อาศัยเครือข่ายเคเบิลจากผู้ให้บริการ   ถ้าต้องการใช้บริการแบบเคเบิลโมเด็มจะต้องใช้บริการของ  asia  net  การทำงานของเคเบิลโมเด็มจะคล้ายกับ  adsl  มีการเข้ารหัสสัญญาณดิจิทัลด้วยความถี่สูง แล้วส่งผ่านสายเคเบิลไปยัง ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต กรณีนี้สายโคแอกเซียลทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง

4.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
 เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว  cs  internet ในเครือชินคอร์ปอเรชั่นเจ้าของดาวเทียมไทยคม  การรัยข้อมูลด้วยสัญญาณความเร็วสูงมามายังผู้ใช้ในระดับเมกะบิตผ่านดาวเทียมโดยผู้ใช้จะต้องติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม ส่วนการส่งข้อมูล ทำการผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์มีความเร็วแค่ 56   kbps    การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เป็นช่องทางที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากสภาพดินฟ้าอากาศควรเตรียมช่องทางอื่นในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้สำรองในการใช้งาน

5.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบวงจรเช่า 
การเชื่อมเอนเตอร์แบบ    leased  line  จะเหมาะกับการใช้งานสำหรับองค์กร สถาบันการศึกษา หรือระบบธุรกิจต่างๆที่มีผู้บริการเอนเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก โดยไม่ต้องหมุนโทรศัพท์เข้าไปยังศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตเพราะการเชื่อมแบบ  leased  line  จะเชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตตลอด 24  ชั่วโมง
                ค่าใช้จ่ายในการเช่าต้องเป็นรายเดือน     โดยจะเสียค่าบริการตามความเร็วที่เช่าสายสัญญาณเป็นอัตราเดียวกันทุกเดือน และไม่ต้องเสียค่าบริการตามชั่วโมงการใช้งานอีก
                ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีผู้ใช้บริการเอนเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะนิยมการเชื่อมต่อเอนเตอร์เน็ตแบบนี้ เพราะสามารถใช้งานเอนเตอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดปริมาณการงาน  โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาต่างๆ จะต้องให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรในหน่วยงาน

การเลือกให้ผู้บริการเอนเตอร์เน็ต (isp)

โดยมีวิธีหลักการที่ต้องคำนึง  ดังต่อไปนี้
1.               ความน่าเชื่อถือ  ควรจะพิจารณาว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบริษัทนั้นมีความน่าถือในการให้บริการมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะสามารถหาข้อมูลได้โดยการสอบถามจากผู้เคยใช้บริการโดยตรง
2.               ประสิทธิภาพของระบบ  โดยพิจารณาจากความเร็วใยการรับส่งข้อมูล การเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่  หรือในขณะที่เรากำลังทำการโอนย้ายข้อมูล  และเกิดสายโทรศัพท์หลุดก็จะทำให้เราต้องเสียเวลาในการโอนย้ายข้อมูลใหม่
3.               หมายเลขโทรศัพท์  ผู้ให้บริการเอนเตอร์เน้ตจะต้องมีช่องทางให้กับบริการด้วยโมเด็ม ดังนั้นจำนวนผู้บริการจะต้องสำพันธ์กับหมายเลขโทรศัพท์ที่จัดหาไว้
4.               อัตราการใช้โมเด็ม  ผู้ให้บริการเอนเตอร์เน็ตจะต้องมีคู่สายโมเด็มเพียงพอต่อการรองรับการใช้บริการของลูกค้า
5.               ค่าบริการ  โดยเราเลือกซื้อตามปริมาณการใช้งานของเราได้เพื่อให้คุ้มค่าต่อปริมาณค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไป
6.               ค่าธรรมเนียมต่างๆ  พิจารณาว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแต่ละแห่ง นอกเหนืออัตราค่าบริการแล้วมีการคิดค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกหรือไม่
7.               บริการเสริม  ผู้บริการอินเตอร์เน็ตได้มีบริการเสริมอื่นๆ  ให้บริการอีกหรือไม่ เช่น  มีพื้นที่ว่างสำหรับการสร้าง Homepage และมี E – mail Address ให้ด้วยหรือไม่




วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 10 กฎหมายและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต

 


กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


            ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน

ซึ่งปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน ยังอาจจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม  ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ และเป็นเครือข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อการควบคุม และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตน หรือแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งผู้ส่งข้อมูล หรือผู้รับข้อมูล
            
ดังนั้นกฎหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต จะต้องเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  แต่ความแตกต่างในระบบการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในแต่ละประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรค  ในการร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฎหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต

ประเทศไทยกับการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
          
 
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ได้แก่
               
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
                        เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
6-2

                2.
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
                       
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
                3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)
                        เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
               
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
                           เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
                5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
                          
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม

                6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Funds Transfer Law)

                          เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 7 การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรม winzip

การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรม Winzip
        บางครั้งไฟล์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เปิดให้ดาวน์โหลดทางอินเตอร์เน็ตนั้นมีขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กก่อน เพื่อที่จะทำให้การดาวน์โหลดทำได้รวดเร็วขึ้น เราสามารถสังเกตได้ว่าไฟล์ใดใช้วิธีบีบอัดข้อมูลมา โดยดูได้จากนามสกุลของไฟล์นั้น จะมีนามสกุล . zip เมื่อดาวน์โหลดข้อมูลมาแล้วต้องทำการขยายไฟล์ข้อมูลก่อนจึงจะสามารถอ่านข้อมูล หรือนำไปใช้งานได้ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการขยายไฟล์ คือ โปรแกรม Winzip
        โปรแกรม Winzip จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 แบบ คือ
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->Winzip จะช่วยอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำงาน โดยเพียงแต่ตอบคำถามทีละขั้นตอนตามที่โปรแกรมกำหนดเท่านั้น
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->Classic แบบนี้ผู้ใช้โปรแกรมจะเป็นคนกำหนดทั้งหมดตามความต้องการใช้งาน

การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ
         การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ สามารถขอได้จากเว็บไซต์หลากหลายที่ให้บริการ ซึ่งเมื่อได้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เพื่อสร้างโฮมเพจแล้ว จะได้รับพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล และเมื่อเราได้สร้างโฮมเพจของเราเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะทำการอัพโหลด โฮมเพจไปไว้ยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ทันที

การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรม WS-FTP
          โปรแกรม  WS-FTP จะช่วยให้เราสามารถอัพโหลด ( Upload ) ข้อมูลไปยังระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงได้ทำการติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งาน  ดังต่อไปนี้

การติดตั้งโปรแกรม WS-FTP
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->คลิกเลือกเพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม WS-FTP
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->เตรียมการติดตั้งโปรแกรม
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->คลิก Next เพื่อเริ่มติดตั้งโปรแกรม
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]-->แสดงหน้าต่างของข้อตกลงสำหรับการติดตั้งโปรแกรม ให้คลิกเลือก I accept … เพื่อยอมรับในเงื่อนไข และคลิกที่ Next
<!--[if !supportLists]-->5.             <!--[endif]-->กำหนดตำแหน่งในการจัดเก็บโปรแกรมให้คลิกที่ Next
<!--[if !supportLists]-->6.             <!--[endif]-->กำหนดชื่อของโฟลเดอร์ที่จะเก็บโปรแกรมให้คลิกที่ Next
<!--[if !supportLists]-->7.             <!--[endif]-->แสดงหน้าต่าง Start Copying Files คลิกที่ Next
<!--[if !supportLists]-->8.             <!--[endif]-->แสดงสถานะของการติดตั้งโปรแกรม
<!--[if !supportLists]-->9.             <!--[endif]-->คลิกที่ Finish เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม
การใช้งานโปรแกรม WS-FTP
        เมื่อติดตั้งโปรแกรม WS-FTP เรียบร้อยแล้ว จะต้องกำหนดค่าเพื่อใช้งานในโปรแกรม โดยสามารถที่จะปฏิบัติได้ ดังต่อไปนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->ปรากฏหน้าจอ Welcome คลิกที่ Next
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->ปรากฏหน้าจอ Site Name สำหรับกำหนดชื่อของ Site เพื่อไว้จัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่อัพโหลดไปยังเครื่องแม่ข่าย ( Server )  เช่นเดียวกับการกำหนดโฟลเดอร์ไว้ที่เครื่องแม่ข่าย  เช่น kulrapee  แล้วคลิกที่ Next
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->ขั้นต่อมาจะปรากฏหน้าจอ Server Address เพื่อกำหนดหมายเลข IP Address ของเครื่องแม่ข่ายที่เราต้องการจะนำข้อมูลไปอัพโหลดไว้ เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ Next
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]-->User Name และ Password จะต้องถูกกำหนดเมื่อเราได้ขอพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์กับเว็บไซต์ที่ให้บริการ หรือผู้บริการด้านอินเตอร์เน็ต (ISP) ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการเช่าพื้นที่ หรือการขอพื้นที่ฟรีก็ตาม
<!--[if !supportLists]-->5.             <!--[endif]-->Connection Type จะต้องกำหนดรูปแบบของการติดต่อให้เลือก FTP แล้วคลิกที่ Next
<!--[if !supportLists]-->6.             <!--[endif]-->Finish จะแสดงรายละเอียดสำหรับการติดต่อกับเครื่องแม่ข่าย ( Server ) รวมทั้ง User Name และ Password ทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนข้างต้น แล้วคลิกที่ Finish

การอัพโหลดข้อมูล (Upload)
        หลังจากที่ได้ขอพื้นที่ในการเก็บโฮมเพจของเราผ่านทางเว็บไซต์ www.thcity.com ต่อมาก็ได้ทำการติดตั้งโปรแกรม WS-FTP รวมทั้งการกำหนดค่าเพื่อใช้งานโปรแกรม WS-FTP และขั้นตอนต่อไปคือ การอัพโหลด (Upload) ข้อมูลของโฮมเพจผ่านทางเว็บไซต์ที่ขอใช้บริการ สามารถทำตามขั้นตอนได้ ดังต่อไปนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->ดับเบิ้ลคลิกที่สัญลักษณ์ของโปรแกรม WS-FTP ที่หน้าจอ Desktop
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->จะปรากฏหน้าต่างแรก คือ Tip of the Day ถ้าเราการที่จะอ่านต่อไป ให้เลือก Next Tip แต่ถ้าไม่ต้องการให้เลือก Close
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->ลำดับต่อมาจะปรากฏหน้าต่างของการอัพโหลด (Upload) ข้อมูล ซึ่งจะสังเกตได้ว่าข้อมูลที่ปรากฏในช่อง Address, User ID, Password จะปรากฏให้เราโดยอัตโนมัติ
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]--> <!--[if !vml]--> <!--[endif]-->จะปรากฏ Site Manager ที่ได้ตั้งไว้แล้ว ให้คลิกที่ชื่อของ Sites          Connect
<!--[if !supportLists]-->5.             <!--[endif]-->ด้านขวามือจะปรากฏชื่อของ Site ที่ได้เลือกในการติดต่อเพื่อรอรับข้อมูลที่เราจะอัพโหลด (Upload) จากด้านซ้ายมือโดยใช้วิธีคลิกที่ลูกศรซึ่งอยู่ตรงกลางทั้งสองฝั่ง เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการอัพโหลดข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้เครื่องแม่ข่ายที่เราได้ขอพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลไว้
<!--[if !supportLists]-->6.             <!--[endif]-->เมื่อคลิกที่ Connect จะสามารถเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าต่าง ๆ คือ
               Connection Wizard     :   การกำหนดค่าเพื่อใช้งานโปรแกรม WS-FTP
               Site Manager               :   กำหนด Site สำหรับการจัดเก็บข้อมูลในฝั่งเครื่องแม่ข่าย
7.   หรือเมื่อคลิกที่ Connection Wizard เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าสำหรับการใช้งานในโปรแกรม   WS-FTP

บทที่ 7 เรื่องขั้นตอนของการดาวน์โหลด

ขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์วีดีโอ

ขั้นตอนแรกของเราคือการดาวน์โหลดไฟล์วีดีโอที่คุณต้องการ ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้
1. เปิดเข้าไปยังเว็บเพจแสดงวีดีโอจาก YouTube, Google Video หรือที่คุณต้องการดาวน์โหลด จากนั้นก๊อบปี้ URL 

 2. เปิดเว็บไซต์ http://keepvid.com/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้คุณสามารถดาวน์โหลดวีดีโอได้ตามต้องการ จากนั้นเพสต์ URL
    ที่ก๊อบปี้มาไว้ในช่องด้านบน และเลือกเว็บไซต์ที่เก็บไฟล์วีดีโอนั้น ในตัวอย่างนี้คือ You Tube ตามด้วยการคลิกปุ่ม Download

 
 3. ลิงก์สำหรับการดาวน์โหลด (Downloaded Link) จะปรากฏขึ้น ให้คุณคลิกเพื่อทำการดาวน์โหลดวีดีโอ หรือก๊อบปี้ลิงค์แล้วใช้โปรแกรมดาวน์โหลดของคุณ
    เช่น GetRight, FlashGet เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ คุณจะได้ไฟล์ชื่อ video.flv ก็เป็นอันเรียบร้อย ด้วยขั้นตอนง่ายๆ นี้ คุณก็ได้วีดีโอมาเก็บไว้ในเครื่องแล้ว

 

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 6 เรื่องโปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล

โปรโตคอลที่สำคัญที่ทำงานในเลเยอร์อินเตอร์เน็ตคือ  IP,ARP,ICMP และ  IGMP  ผู้อ่านควรที่จะทำความเข้าใจหลักการทำงานของโปรโตคอลนี้
1  Internet  Protocol  (IP)
โปรโตคอล  IP  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับที่ทำการไปรษณีย์ กล่าวคือ  โปรโตคอล  IP  จะทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับส่งแพ็กเก็ต หรือบางทีก็เรียกว่า  “ดาต้าแกรม (Datagram) ”คือหน่วยของข้อมูลที่รับมาจากโปรโตคอลที่อยู่เลเยอร์สูงกว่า เช่น TCP และ UDP  ถ้าโฮสต์ปลายทางอยู่คนละเครือข่ายกับโฮสต์ที่ส่งข้อมูล  IP  จะรับผิดชอบในการจัอเส้นทาง  (Routing)  ให้แพ็กเก็ตส่งไปยังเครือข่ายที่โฮสต์นั้นอยู่  ซึ่งในการจัดส่งแพ็กเก็ตข้ามเครือข่ายนั้น  IP  จะใช้ราท์เตอร์ (Routing)  ในการเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านั้นโดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายจะเรียกว่าเราท์เตอร์  แต่บางทีอุปกรณ์ตัวนี้ก็จะเรียกว่า  “เกตเวย์ (Gateway)” ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนประตูไปยังเครือข่ายอื่นๆ
 2  Address  Resolution  Protocol (ARP)
การที่คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันต้องการที่จะสื่อสารกันจำเป็นที่ต้องทราบหมายเลขเน็ตเวิร์คการ์ด หรือแม็กแอดเดรส (MAC Address) ของกันและกัน  แพ็กเก็ตไอพีจะถูกห่อหุ้มด้วยเฟรมในระดับดาต้าลิงค์ ซึ่งแม็กแอดเดรสของเครื่องส่งและเครื่องรับจะต้องถูกใส่ไปด้วยปัญหาก็คือเครื่องส่งอาจไม่ทราบหมายแม็กแอดเดรสของเครื่องรับ
โปรโตคอล  ARP (Address Rresolution Protocol) จะทำหน้าที่ค้นหาหมายเลขแม็กแอดเดรสของเครื่องที่มีหมายเลขไอพีที่ต้องการ  หลักการทำงานของ ARP คือ โฮสต์ที่ต้องการทราบหมายเลขแม็กแอดเดรสของเครื่องที่มีหมายเลขไอพีนั้น ก็จะทำการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน
3  Internet  Control  Messags Protocol  (ICMP)
โปรโตคอล ICMP  (Internet  Control  Messags Protocol )  ทำหน้าที่รายงานข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการส่งแพ็กเก็ตในเครือข่าย ICMP ใช้ในการส่งแบบคอนเน็กชันเลสส์ (Connectionless) ซึ่งหมายถึงการรับส่งข้อมูลที่ฝ่ายรับและฝ่ายส่งไม่ได้ประสานกันก่อน กล่าวคือ ฝ่ายรับจะไม่ทราบว่าจะมีแพ็กเก็ตส่งมาหาตัวเอง  ดังนั้นโอกาสที่แพ็กเก็ตจะส่งไม่ถึงปลายทางจึงเป็นไปได้สูง
 4  Internet  Group  Mmmanagement Protocol  (IGMP)
โปรโตคอล IGMP (Internet  Group  Mmmanagement Protocol)  ทำหน้าที่แจ้งให้เราท์เตอร์เกี่ยวกับกลุ่มของเครื่องหมายไอพีที่เป็นมัลติคาสต์  (Multicast) ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งต่อ ๆ กันออกไปยังเราท์เตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเพื่อให้เครือข่ายสามารถรองรับการรับส่งข้อมูลแบบมัลติคาสต์ได้  การส่งแพ็กเก็ตของ IGMP จะส่งเป็นไอพีดาต้าแกรมซึ่งเป็นการส่งแบบคอนเน็กชันเลสส์