วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 5 เรื่องหมายเลขประจำเครื่อง (IP Address)

การกำหนดหมายเลข IP Address
        ในระบบเครือข่ายอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขประจำเครือง หมายเลขนี้เรียกว่า IP Address และ IP Address ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายต้องไม่ซ้ำกัน ผู้ที่สร้างเครือข่ายต้องขอหมายเลข IP Address เพื่อนำมากำหนดให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่าย
ตัวอย่างเช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีเครื่อง Server ชื่อว่า Nontri หมายเลข IP Address เป็น 158.108.2.71 ซึ่งเลขชุดนี้ จะมีการแบ่งออกเป็น 4 เขตข้อมูล(Fields) แต่เขตข้อมูลประกอบด้วยเลขฐานสอง 8 บิต โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างกลุ่มของตัวเลข
IP Address ทั้ง 4 เขตข้อมูล มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก เป็นหมายเลขประจำเครือข่าย
กลุ่มที่ 2 เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย 

        แต่เนื่องจากเครือข่ายของแต่ละองค์กร มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงมีการกำหนดวิธีการแบ่งหมายเลข IP Address ออกเป็นคลาส (Class) คือ คลาส A คลาส B และ คลาส C โดย
คลาส A กำหนดให้เขตข้อมูลแรกเป็นหมายเลขประจำเครือข่าย ที่เหลืออีก 3 เขตข้อมูล เป็นหมายเลขประจำเครื่องหรือเครือข่าย
คลาส B กำหนดตัวเลข 2 เขตข้อมูลเป็นหมายเลขประจำเครือข่าย ที่เหลือเป็นหมายเลขประจำเครื่องหรือเครือข่าย
คลาส C กำหนดตัวเลข 3 เขตข้อมูลเป็นหมายเลขประจำเครือข่าย ที่เหลือเป็นหมายเลขประจำเครื่องหรือเครือข่าย ดังภาพ
คลาส A
คลาส B
คลาส C
หมายเลขประจำเครือข่าย
หมายเลขประจำเครื่อง
โดยกำหนดหมายเลขประจำเครือข่าย และจำนวนคอมพิวเตอร์ในแต่ละคลาส ดังนี้
คลาสจำนวนหลักแรกความยาวของรหัสเครือข่ายจำนวนเครื่องในเครือข่าย
A1 -126
1 เขตข้อมูล
16,387,064
B128 - 191
2 เขตข้อมูล
64,516
C192 - 223
3 เขตข้อมูล
254
        การกำหนดหมายเลข IP Address จะต้องใช้หมายเลขที่สงวนไว้โดยเฉพาะซึ่งมีอยู่หลายชุด ตัวอย่างเช่น 192.168.0.1 ถึง 192.168.0.254 สามารถใช้เป็นหมายเลขประจำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่ง 3 เขตข้อมูลแรกเป็นหมายเลขประจำเครือข่าย ส่วนเขตข้อมูลที่ 4 เป็นหมายเลขของเครื่องในเครือข่ายซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ถึง 254 และหมายเลข Subnet Mask คือ 255.255.255.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น