วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 10 กฎหมายและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต

 


กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


            ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน

ซึ่งปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน ยังอาจจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม  ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ และเป็นเครือข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อการควบคุม และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตน หรือแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งผู้ส่งข้อมูล หรือผู้รับข้อมูล
            
ดังนั้นกฎหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต จะต้องเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  แต่ความแตกต่างในระบบการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในแต่ละประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรค  ในการร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฎหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต

ประเทศไทยกับการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
          
 
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ได้แก่
               
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
                        เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
6-2

                2.
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
                       
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
                3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)
                        เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
               
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
                           เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
                5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
                          
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม

                6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Funds Transfer Law)

                          เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

5 ความคิดเห็น:

  1. มาตรการป้องกันและปราบแรามอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต


    มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
    จากพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง นำมาซึ่งความสะดวก สบาย และรวดเร็วก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ มากมายทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีประเภทนี้ก็อาจนำมาซึ่งความเสียหาย
    ได้เช่นกันหากนำมาใช้อย่างไม่เหมาะสมโดยบุคคลที่เราเรียกกันว่า Hacker หรือ Cracker นั่นเอง แต่เดิมนั้นเมื่อกล่าวถึงคำว่า
    “Hacker” หมายคนอาจมองว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ล้ำยุคแต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้ากลุ่มคนที่เราเรียกกันว่า
    “Hacker” จึงมิใช่เป็นเพียงตัวละครในนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นคนในชีวิตจริงที่สามารถใช้ความรู้ความสามารถของตน
    ดำเนินการโดยใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นการสร้างความเสียหายให้ผู้อื่นโดยผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายระบบปิด
    หรือเครือข่ายระบบเปิด เช่น อินเทอร์เน็ต ก็ตาม ดังนั้น จึงได้มีหลายหน่วยงานทำการสำรวจสถิติความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก
    อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งได้มีความพยายามกำหนดมาตรการต่างๆ ในการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
    โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังต่อไปนี้
    1.สถิติความเสียที่เกิดขึ้นจากการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
    ปัจจุบันมีหน่วยงานของต่างประเทศหลายหน่วยงาน ที่ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสถิติความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่อ
    อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ อาทิ AusCert , CSI, IPRI เป็นต้น ซึ่งเป็นเพียงการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วโลกเท่านั้น
    โดยไม่มีการแสดงสถิติความเสียหายของแต่ละประเทศไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยเองก็ยังไม่มีหน่วยงานใดรับ
    ผิดชอบ ดำเนินการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ทำให้การอ้างอิงสถิติความเสียหายต่างๆ
    จึงต้องอาศัยข้อมูลจากหน่วยงานต่างประเทศเป็นหลัก
    จากพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง นำมาซึ่งความสะดวก สบาย และรวดเร็วก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ มากมายทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีประเภทนี้ก็อาจนำมาซึ่งความเสียหาย
    ได้เช่นกันหากนำมาใช้อย่างไม่เหมาะสมโดยบุคคลที่เราเรียกกันว่า Hacker หรือ Cracker นั่นเอง แต่เดิมนั้นเมื่อกล่าวถึงคำว่า
    “Hacker” หมายคนอาจมองว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ล้ำยุคแต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้ากลุ่มคนที่เราเรียกกันว่า
    “Hacker” จึงมิใช่เป็นเพียงตัวละครในนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นคนในชีวิตจริงที่สามารถใช้ความรู้ความสามารถของตน
    ดำเนินการโดยใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นการสร้างความเสียหายให้ผู้อื่นโดยผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายระบบปิด
    หรือเครือข่ายระบบเปิด เช่น อินเทอร์เน็ต ก็ตาม ดังนั้น จึงได้มีหลายหน่วยงานทำการสำรวจสถิติความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก
    อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งได้มีความพยายามกำหนดมาตรการต่างๆ ในการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

    ตอบลบ
  2. ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต


    ปัจจุบันนี้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ทั้งบุคคลทั่วไปและในองค์กรต่างยอมรับว่า ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญและจำเป็นในชีวิตประจำวัน และดำเนินธุรกิจ ปัญหาซ้ำซากที่กลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประสบพบเจอกันเป็นประจำในระหว่างการใช้งานคงหนีไม่พ้นมหกรรมภัยร้ายต่างๆ ที่มุ่งเข้าถล่มเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์อืดลง เข้าเว็บไซต์ที่ต้องการไม่ได้ ถูกโจรกรรมข้อมูลไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกทำลาย
    ทางเนคเทคได้ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ ภัยคุกคามบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทวีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น โดยข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า ปัญหาเกี่ยวกับภัยคุกคามโดยเฉพาะไวรัสเป็นปัญหาสำคัญที่สุด รองลงมาจึงเป็นปัญหาความล่าช้าในการติดต่อและสื่อสาร
    ทุกวินาทีภัยคุกคามบนเครือข่ายมีมากมายสังเกตได้จากสถิติของหลายสำนัก เช่น ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอด ภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย หรือ ThaiCERT และบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ได้วิเคราะห์แนวโน้มภัยคุกคามต่างๆ ออกมาใกล้เคียงกัน นั่นคือ จากนี้ไปผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะพบกับรูปแบบการโจมตีที่หลากหลายด้วยการใช้กลอุบายหลอก ลวงต่างๆ เพื่อหวังผลที่ได้แตกต่างกัน
    ส่วนวิธีรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ แนะนำว่า ในเบื้องต้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและผู้ดูแลระบบเครือข่ายต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาภัยคุกคามต่างๆ เพื่อจะได้วางแผนป้องกันได้ตรงกับปัญหาอัน จะนำมาสู่ความปลอดภัย และทำให้เครือข่ายมีความเสถียรเพิ่มมากขึ้น

    ตอบลบ
  3. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

    ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

    โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

    อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
    1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

    2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

    3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)

    4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว

    5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง

    6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

    ตอบลบ
  4. บัญญัติ 10 ประการ ด้านความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ต
    บัญญัติ 10 ประการ ด้านความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ต

    1. ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา
    2. เปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ เช่น ทุก 3 เดือน
    3. ปรับปรุงโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลา
    4. ให้ความรู้แก่บุคลากรในเรื่องความปลอดภัยในการรับไฟล์ หรือการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเตอร์เน็ต
    5. ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเครื่อข่ายอย่างสมบูรณ์
    6. ประเมินสถานการณ์ของความปลอดภัยในเครื่อข่ายอย่างสม่ำเสมอ
    7. ลบรหัสผ่าน และบัญชีการใช้ของพนักงานที่ออกจากหน่วยงานทันที
    8. วางระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงระบบของพนักงานจากภายนองหน่วยงาน
    9. ปรับปรุงซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ
    10. ไม่ใช้การบริการบางตัวบนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างไม่

    ตอบลบ
  5. วิธีการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

    วิธีการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
    อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

    ความหมาย
    อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
    1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
    ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
    2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
    และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
    ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน

    การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย
    ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
    จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ
    หนึ่งที่มีความสำคัญ

    มีรูปแบบอะไรบ้าง
    ปัจุบันทั่วโลก ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้
    9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทาคอมพิวเตอร์)
    1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
    รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
    2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
    3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
    4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
    5. การฟอกเงิน
    6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
    7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
    8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
    เช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
    9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง

    ไฟร์วอลล์คืออะไร
    ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการติดต่อสื่อสาร ธุรกิจ การศึกษา หรือว่าเพื่อความบันเทิง องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็นำเอาเน็ตเวิร์กของตนเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะได้รับประโยชน์เหล่านี้ แต่เราต้องไม่ลืมว่าการนำเอาเน็ตเวิร์กไปเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้น ทำให้ใครก็ได้บนอินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามายังเน็ตเวิร์กนั้นๆ ได้ ปัญหาที่ตามมาก็คือความปลอดภัยของระบบเน็ตเวิร์ก เช่น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกเจาะระบบ และ ขโมยข้อมูล เป็นต้น
    จากปัญหาดังกล่าวทำให้เราต้องมีวิธีการในการรักษาความปลอดภัย สิ่งที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ก็คือ ไฟร์วอลล์ โดยไฟร์วอลล์นั้นจะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ จากภายนอกที่จะเข้ามายังเน็ตเวิร์กของเรา
    ในความหมายทางด้านการก่อสร้างแล้ว ไฟร์วอลล์ จะหมายถึง กำแพงที่เอาไว้ป้องกันไฟไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ส่วนทางด้านคอมพิวเตอร์นั้นก็จะมีความหมายคล้ายๆ กันก็คือ เป็นระบบที่เอาไว้ป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เน็ตหรือเน็ตเวิร์กภายนอกนั่นเอง

    ไฟร์วอลล์ เป็นคอมโพเน็นต์หรือกลุ่มของคอมโพเน็นต์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเน็ตเวิร์กภายนอกหรือเน็ตเวิร์กที่เราคิดว่าไม่ปลอดภัย กับเน็ตเวิร์กภายในหรือเน็ตเวิร์กที่เราต้องการจะป้องกัน โดยที่คอมโพเน็นต์นั้นอาจจะเป็นเราเตอร์ คอมพิวเตอร์ หรือเน็ตเวิร์ก ประกอบกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือ

    ตอบลบ