วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 6 เรื่องโปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล

โปรโตคอลที่สำคัญที่ทำงานในเลเยอร์อินเตอร์เน็ตคือ  IP,ARP,ICMP และ  IGMP  ผู้อ่านควรที่จะทำความเข้าใจหลักการทำงานของโปรโตคอลนี้
1  Internet  Protocol  (IP)
โปรโตคอล  IP  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับที่ทำการไปรษณีย์ กล่าวคือ  โปรโตคอล  IP  จะทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับส่งแพ็กเก็ต หรือบางทีก็เรียกว่า  “ดาต้าแกรม (Datagram) ”คือหน่วยของข้อมูลที่รับมาจากโปรโตคอลที่อยู่เลเยอร์สูงกว่า เช่น TCP และ UDP  ถ้าโฮสต์ปลายทางอยู่คนละเครือข่ายกับโฮสต์ที่ส่งข้อมูล  IP  จะรับผิดชอบในการจัอเส้นทาง  (Routing)  ให้แพ็กเก็ตส่งไปยังเครือข่ายที่โฮสต์นั้นอยู่  ซึ่งในการจัดส่งแพ็กเก็ตข้ามเครือข่ายนั้น  IP  จะใช้ราท์เตอร์ (Routing)  ในการเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านั้นโดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายจะเรียกว่าเราท์เตอร์  แต่บางทีอุปกรณ์ตัวนี้ก็จะเรียกว่า  “เกตเวย์ (Gateway)” ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนประตูไปยังเครือข่ายอื่นๆ
 2  Address  Resolution  Protocol (ARP)
การที่คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันต้องการที่จะสื่อสารกันจำเป็นที่ต้องทราบหมายเลขเน็ตเวิร์คการ์ด หรือแม็กแอดเดรส (MAC Address) ของกันและกัน  แพ็กเก็ตไอพีจะถูกห่อหุ้มด้วยเฟรมในระดับดาต้าลิงค์ ซึ่งแม็กแอดเดรสของเครื่องส่งและเครื่องรับจะต้องถูกใส่ไปด้วยปัญหาก็คือเครื่องส่งอาจไม่ทราบหมายแม็กแอดเดรสของเครื่องรับ
โปรโตคอล  ARP (Address Rresolution Protocol) จะทำหน้าที่ค้นหาหมายเลขแม็กแอดเดรสของเครื่องที่มีหมายเลขไอพีที่ต้องการ  หลักการทำงานของ ARP คือ โฮสต์ที่ต้องการทราบหมายเลขแม็กแอดเดรสของเครื่องที่มีหมายเลขไอพีนั้น ก็จะทำการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน
3  Internet  Control  Messags Protocol  (ICMP)
โปรโตคอล ICMP  (Internet  Control  Messags Protocol )  ทำหน้าที่รายงานข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการส่งแพ็กเก็ตในเครือข่าย ICMP ใช้ในการส่งแบบคอนเน็กชันเลสส์ (Connectionless) ซึ่งหมายถึงการรับส่งข้อมูลที่ฝ่ายรับและฝ่ายส่งไม่ได้ประสานกันก่อน กล่าวคือ ฝ่ายรับจะไม่ทราบว่าจะมีแพ็กเก็ตส่งมาหาตัวเอง  ดังนั้นโอกาสที่แพ็กเก็ตจะส่งไม่ถึงปลายทางจึงเป็นไปได้สูง
 4  Internet  Group  Mmmanagement Protocol  (IGMP)
โปรโตคอล IGMP (Internet  Group  Mmmanagement Protocol)  ทำหน้าที่แจ้งให้เราท์เตอร์เกี่ยวกับกลุ่มของเครื่องหมายไอพีที่เป็นมัลติคาสต์  (Multicast) ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งต่อ ๆ กันออกไปยังเราท์เตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเพื่อให้เครือข่ายสามารถรองรับการรับส่งข้อมูลแบบมัลติคาสต์ได้  การส่งแพ็กเก็ตของ IGMP จะส่งเป็นไอพีดาต้าแกรมซึ่งเป็นการส่งแบบคอนเน็กชันเลสส์

10 ความคิดเห็น:

  1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
    อีเมล์คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูล
    ในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง
    อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่นsomchai@hotmail.com

    ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้
    ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้
    ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท
    ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
    ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
    รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ
    .com = commercial บริการด้านการค้า
    .edu = education สถานศึกษา
    .org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
    .gov = government หน่วยงานรัฐบาล
    .net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย
    ตัวอย่าง e-mail address
    stg@mail.ians.navy.mi.th somchai@access.inet.co.th somchai@ku.ac.th
    การลงทะเบียนขอ e-mail addressผู้ใช้บริการสามารถลงทะเบียนขอ e-mail address ได้จาก เว็บต์ที่ให้บริการทั้งแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและฟรี เว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์ฟรี ได้แก่ www.yahoo.com, www.thaimail.com , www.hotmail.com
    การรับส่ง e-mail มีองค์ประกอบดังนี้-เว็บไชต์ที่ให้บริการรับส่ง e-mail เปรียบเหมือนที่ทำการไปรษณีย์
    - e-mail address ของผู้ส่ง
    - e-mail address ของผู้รับ

    ตอบลบ
  2. ประเภทของ e-mail

    อี-เมล์ (E-mail) ย่อมาจาก Electronic mail (แปลว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (Terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (Network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (E-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสานักงานอัตโนมัติ (Office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก
    E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรมWord จากนั้นก็คลิกคาสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
    ประเภทของ e-mail
    e-mail มี 3 ประเภท คือ
    1. POP (Post Office Protocol Version)
    POP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Offline Model กล่าวคือเวลาทำงาน E-mail Client จะเชื่อมต่อกับ Mail Server จากนั้นจะ Download และลบ E-mail ออกจาก Server หรือ Download เพียงอย่างเดียวแล้วทิ้ง E-mail ไว้บนServer ภายหลังจากที่ E-mail ถูก Download มาที่เครื่อง Client เรียบร้อยแล้ว Client จะตัดการเชื่อมต่อออกจาก Server หลังจากนั้น E-mail จะถูกProcess ที่เครื่อง Client ทั้งหมด ข้อได้เปรียบของการทำงานแบบนี้ก็คือ Clientแต่ละเครื่องใช้เวลาในการเชื่อมต่อกับเครื่อง Mail Server น้อยมากอีกทั้งยังต้องการเนื้อที่เก็บ E-mail บน Server น้อยด้วยเช่นกัน แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถอ่าน E-mail จาก Client เครื่องอื่นได้อีกหากว่าเรา Set ให้ลบ Mail บน Server หลังจาก Download เสร็จ หรือ ไม่สามารถบอกได้ว่า Mail ฉบับไหนเคยอ่านไปแล้วบ้าง หากเรา Set ค่าแบบ ให้ทิ้ง E-mail ไว้บน Server อีกประการหนึ่งคือเครื่องClient จะต้องมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากเป็นผู้ Process E-mail ด้วยตนเอง
    2. IMAP (Internet Message Access Protocol Version)
    IMAP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Online Model ผสานกับDisconnected Model กล่าวคือ การจัดการและการ Process E-mailทั้งหมดจะถูกจัดการที่ Server เพียงอย่างเดียว Client มีหน้าที่เพียงแค่อ่าน E-mail หรือส่งคำสั่งไป Process E-mail บน Server เท่านั้น แบบนี้มีข้อดีก็คือท่านสามารถอ่าน E-mail จากที่ใดก็ได้ เนื่องจาก E-mail จะถูกเก็บอยู่ในServer เสมอ และจะมีสถานะบอกด้วยว่า E-mail ฉบับใดมาใหม่ ฉบับใดมีการอ่านหรือตอบกลับไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ Server จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และในระหว่างการอ่านหรือ Process E-mail เครื่อง Client จะต้องเชื่อมต่อกับServer ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำงานได้ช้ากว่าแบบ POP
    3. WEB Based
    Web Base Mail เช่น อีเมล์ของ hotmail.com, chaiyo.com ซึ่งหากต้องการใช้งานอีเมล์เหล่านี้ จะต้องใช้งานโดยผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Firefox ก็สามารถเข้าเช็คอีเมล์หรือเขียนอีเมล์ได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเสมอไป เพราะโปรแกรมอีเมล์ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Web-based Application ที่ใช้โปรแกรมเว็บบราวเซฮร์เป็นเครื่องมือในการเปิดโปรแกรมใช้งาน จึงทำให้โปรแกรมอีเมล์สามารถทำงานได้เหมือนกับการเข้าไปดูเว็บไซต์ทั่วไป
    ข้อดีของ POP คือ
    อยู่ในเครื่อง อ่านเมื่อไรก็ได้
    Offline จึงเร็ว
    Upload ครั้งเดียว สั่ง Disconnect ได้

    ข้อเสียของ POP คือ
    ถ้า Download มาแล้ว จะไม่อยู่ใน server
    ผู้ให้บริการที่มีชื่อ ดี ๆ มีน้อย
    จำกัดว่าต้อง อ่านกับเครื่องที่ setup ไว้
    ข้อดีของ IMAP คือ
    เปิดที่ใดก็ได้ ที่มีโปรแกรมสำหรับ IMAP อยู่
    ไม่มี banner กวนใจเหมือน Web based
    ทำงานได้เร็ว ในรูปแบบ Online
    Attach file ได้ง่าย
    ข้อเสียของ IMAP คือ
    ถ้าการเชื่อมต่อช้า การติดต่อก็จะช้าไปด้วย
    ต้องมีโปรแกรมที่ใช้ในการนี้ ในเครื่องที่ใช้
    มีลูกเล่นไม่มาก นอกใช้ function หลักสำหรับ mail
    ข้อดีของ WEB Based คือ
    ใช้ browser ตัวใดก็ได้ เปิดอ่าน mail
    เปิดจากเครื่องใดก็ได้ที่ มีโปรแกรม browser
    มักมีบริการเสริมหลายอย่างประกอบ เช่นดูด pop ได้
    ข้อเสียของ WEB Based คือ
    ช้าเพราะมีระบบ graphic ใน sponsor มาก
    บางเว็บที่ให้บริการมีปัญหาภาษาไทย
    มักช้ากว่าการเปิด mail แบบอื่น

    ตอบลบ
  3. ขั้นตอนการขอใช้บริการ
    ทำการของบัญชีผู้ใช้งานที่สำหนักคอมพิวเตอร์(ระบบจะทำการสร้างบัญชีผู้ใช้งานจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ที่ ๆ ต้นชั่วโมง ดังนั้น ถ้าขอบัญชีตอน 11:05 จะสามารถใช้งานได้ในเวลาประมาณ 12:10 เป็นต้น)
    ทำการเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยใช้บัญชีผู้ใช้งานของสำนักคอมพิวเตอร์
    ทำการเปลี่ยนได้ที่ http://mail.buu.ac.th/ChangePasswd.aspx
    ทำการเปลี่ยนได้ที่เครื่องที่สำนักคอมพิวเตอร์ให้บริการโดยการกด Ctrl + Alt + Del แล้วเลือก Change Password
    เมื่อทำการเปลี่ยนรหัสผ่านแล้วจะสามารถใช้งานได้ที่ WindowsLive
    โดยอีเมล์จะเป็น รหัสนิสิต@live.buu.ac.th
    รหัสผ่านจะเป็น รหัสผ่านที่นิสิตกำหนดขึ้นมา
    สามารถดูเอกสารประกอบได้ ที่นี่

    ตอบลบ
  4. การเขียนและการส่งจดหมาย
    การเขียนจดหมาย ข่าว ประกาศและแจ้งความ
    การเขียนจดหมายเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างบุคคลหรือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
    ช่วยทำให้ระยะทางไกลเป็นใกล้ เพราะไม่ว่าบุคคลหรือหน่วยงานจะห่างไกลกันแค่ไหนก็
    สามารถใช้จดหมายส่งข่าวคราวและแจ้งความประสงค์ได้ตามความต้องการ การส่งสารหรือ
    ข้อความในจดหมายต้องเขียนให้แจ่มแจ้งชัดเจน เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย
    องค์ประกอบและรูปแบบของจดหมาย
    ผู้เขียนคงเคยเขียนจดหมายหรืออ่านจดหมายมาบ้างแล้ว คงจะสังเกตเห็นว่าจดหมาย
    นั้นไม่ว่าประเภทใด จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
    ๑. ที่อยู่ของผู้เขียน เริ่มกึ่งกลางหน้าระหว่างเส้นคั่นหน้ากับริมของขอบกระดาษ
    ๒. วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย ให้เยื้องมาทางซ้ายของตำแหน่งที่เขียนที่อยู่เล็กน้อย
    ๓. คำขึ้นต้น ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๑ นิ้ว
    ๔. เนื้อหา ขึ้นอยู่กับย่อหน้าตามปกติ อาจจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๒ นิ้ว
    ๕. คำลงท้ายอยู่แนวเดียวกับที่อยู่ของผู้เขียน
    ๖. ชื่อผู้เขียน อยู่ใต้คำลงท้าย ล้ำเข้าไปเล็กน้อย

    ตอบลบ
  5. การอ่านจดหมาย
    1. เมื่อต้องการอ่านข้อความในจดหมาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
    ส่วนที่ 1 เป็นส่วนที่สามารถจัดการกับจดหมายได้โดย
    - Delete ลบ (D) : การลบจดหมายฉบับที่เปิดอยู่
    - Reply ตอบกลับ (R) : การส่งจดหมายฉบับเดิมไปยังผู้ที่ส่งมา
    - Forward ส่งต่อ : การส่งจดหมายฉบับนี้ไปยังผู้อื่น
    - Print (P) : สั่งปริ้นเมล์


    ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับจดหมายที่อ่าน โดยมีส่วนประกอบดังนี้
    - Date (วันที่) : เวลาที่ส่งจดหมาย
    - From (จาก) : ผู้ที่ส่งจดหมาย
    - To (ถึง) : ผู้รับจดหมาย
    - Subject (ชื่อเรื่อง) : หัวข้อเรื่อง
    - Part (ส่วนประกอบ) : ข้อมูลที่ถูกแนบมาพร้อมกับจดหมาย

    ตอบลบ
  6. การตอบจดหมาย (Reply Mail)

    หลังจากที่ได้เปิดอ่านจดหมายแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการตอบจดหมาย การตอบจดหมายจำเป็นต้องมีจดหมายเปิดค้างไว้เสมอ หากท่านปิดจดหมายไปแล้วก็ขอให้เปิดจดหมายขึ้นมาใหม่ ขั้นตอนการตอบจดหมายมีดังนี้
    ขั้นตอน
    1.เมื่ออ่านข้อความจดหมายจบแล้ว และต้องการตอบจดหมายกลับให้คลิกที่ปุ่ม Reply

    2.สังเกตที่ช่อง To จะมี e-Mail Address ของผู้ที่ส่งจดหมายมาหาท่านปรากฏอยู่ ซึ่งท่านไม่ต้องพิมพ์ e-Mail Address ลงในช่องนี้ จากนั้นให้พิมพ์ข้อความตอบจดหมายเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Send

    3.เมื่อส่งจดหมายเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้กรอบยืนยันการส่งจดหมาย
    ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการรับและตอบจดหมาย

    ตอบลบ
  7. การลบจดหมาย


    เมื่อท่านใช้บริการรับส่งจดหมาย e-Mail มาถึงระดับหนึ่ง จดหมายจะเต็มกล่องเก็บจดหมาย เมื่อจดหมายเต็มกล่องเก็บแล้วจะส่งผลให้โปรแกรม Mail ไม่ทำงาน การจัดการลบจดหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ขั้นตอนการลบจดหมายมีดังนี้
    ขั้นตอน
    1. คลิกที่ Inbox เมื่อคลิกแล้วจะได้กรอบ Inbox

    2. จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูกที่กรอบสี่เหลี่ยม ดังภาพ แล้วคลิกปุ่ม Delete ตามลำดับ

    3.จดหมายก็จะถูกลบออกจากกล่อง Inbox จดหมายที่ถูกลบออกไปจะถูกนำไปเก็บที่ Trash Can และจะถูกลบโดยอัตโนมัติต่อไป นั้นหมายความว่าหากท่านลบจดหมายผิด ท่านยังสามารถกู้จดหมาย จากกล่อง Trash Can นี้ได้ โดยการ คลิกที่ Trash Can แล้วคลิกเครื่องหมายถูกในกรอบสี่เหลี่ยมหน้าจดหมายที่ต้องการกู้ จากนั้นมาคลิกที่เมนู Recover to Folder แล้วเลือกกล่องจดหมายที่ต้องการกู้ไปเก็บไว้

    ตอบลบ
  8. การกู้จดหมายกลับคืน

    1.คลิกที่Trash
    2.คลิกเลือกที่จดหมายที่ต้องการกู้
    3.คลิกที่Moveเพื่อกำหนดสถานที่ที่จะนำจดหมายจากถังขยะไปเก็บไว้
    1.(NewFolder)ให้สร้างโฟลเดอร์ไหม่ที่ต้องการเก็บจดหมาย
    2.Inboxให้นำจดหมายไปเก็บไว้ในกล่องจดหมายเข้า
    4.ถ้าต้องการลบจดหมายก็เพียงแต่คลิกที่จดหมายแล้วคลิกที่Delete

    ตอบลบ
  9. สวัสดี Sir / Madam,
    ชื่อของฉันคือนายบ๊อบฮาร์ดี, I am ผู้อำนวยการบริหารเงินให้สินเชื่อทางการเงิน บริษัท บ๊อบกู้เงินยาก®.Certifiedระหว่างการให้กู้ยืมเงินและสมาคมสินเชื่อที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่รัฐบาลและหน่วยงานที่ให้กู้ยืมเงินต่างประเทศเพื่อความปลอดภัยเช่นเดียวกับการป้องกันเงินซักรีดหมายเรียกสำนักงาน คุณอยู่ในความยากลำบากทางการเงินไม่พอใจกับสถาบันการเงินของคุณที่จะช่วยให้? เพียงติดต่อฉันสำหรับประเภทใด ๆ ของเงินให้กู้ยืมตั้งแต่ $ 3,000.00 ถึง $ 50,000,000.00
    หมายเหตุ: ความจริงที่ว่าเราจัดการเฉพาะกับคนที่ซื่อสัตย์ สำหรับการแก้ปัญหาทางการเงินของคุณโปรดติดต่อเราผ่านทางอีเมล์: bobhardyloanfirm@gmail.com

    ตอบลบ
  10. อาจสงบสุขของพระเจ้าอยู่กับคุณ
    คุณเป็นนักธุรกิจหรือหญิง? คุณอยู่ในใด ๆ
    ความเครียดทางการเงินหรือไม่หรือคุณต้องการเงินทุนเพื่อเริ่มต้นขึ้น
    ธุรกิจของคุณเอง?
    A) การขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
    B) ธุรกิจและการศึกษาเริ่มต้นขึ้น
    C) รวมหนี้
    ชื่อ: ..........................................
    ประเทศ: .........................................
    สถานที่ตั้ง: ..........................................
    สถานะ: .......................................
    เพศ: ................................................ ...
    อายุ ................................................. ....
    การกู้ยืมเงินที่ต้องใช้: .........................
    ระยะเวลากู้: ...................................
    หมายเลขโทรศัพท์มือถือส่วนบุคคล: .......................
    รายได้ต่อเดือน: .....................................
    ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง
    อีเมล์: marycoleloanscompany3@gmail.com

    ตอบลบ